วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2553

แผนการจัดกาเรียนรู้

แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์

ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /
หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 เรื่อง แรงและความดัน เวลา 15 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง แรงลัพธ์และประโยชน์ เวลา 2 ชั่วโมง

โรงเรียนวัดเขาวัง ( แสง ช่วงสุวนิช )
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2552
สอนโดย นางสาวพุ่มพวง สังข์วาลวงศ์
สอนเมื่อวันที่ พฤศจิกายน 2552

1. สาระสำคัญ
เมื่อมีแรงสองแรงกระทำต่อวัตถุ จะทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแนวแรงลัพธ์ แรงลัพธ์ยังมีประโยชน์ทำให้คาดการณ์ได้ว่าวัตถุที่ถูกแรงมากระทำจะเคลื่อนที่ หรือเปลี่ยนรูปร่างได้หรือไม่

2.จุดประสงค์การเรียนรู้
2.1 นักเรียนบอกความหมายของคำว่า แรงลัพธ์
2.2 นักเรียนทดลองหาแรงลัพธ์เนื่องจากแรงสองแรงที่กระทำต่อวัตถุได้
2.3 นักเรียนยกตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากแรงลัพธ์ได้
2.4 นักเรียนมีจิตวิทยาศาสตร์

3. สาระการเรียนรู้
แรงลัพธ์และการใช้ประโยชน์

4. กิจกรรมการเรียนรู้
4.1 ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง แรงและความดัน จำนวน 20 ข้อ เวลา 10 นาที แล้วตรวจพร้อมกันทั้งห้อง ครูบันทึกคะแนนไว้
4.2 ครูและนักเรียนสนทนากันเพื่อนำไปสู่การเรียนเรื่อง แรงลัพธ์และการใช้ประโยชน์ของแรงลัพธ์ โดยใช้คำถามถามนักเรียนเป็นรายบุคคล ดังนี้
- แรงลัพธ์ หมายความว่าอย่างไร
- แรงลัพธ์ มีประโยชน์อย่างไร ให้ยกตัวอย่างประโยชน์ของแรงลัพธ์
4.3 นำเสนอสื่อโดยให้ดูภาพการดึงและการผลักสิ่งของต่าง ๆ ที่ครูนำมาที่หน้าชั้นเรียน แล้วช่วยกันบอกว่า ในแต่ละภาพเป็นการออกแรงดึงหรือแรงผลัก
4.4 ให้นักเรียนทำการทดลองเรื่อง แรงลัพธ์เนื่องจากแรงสองแรงที่กระทำต่อวัตถุ บันทึกผลการทดลองลงในใบกิจกรรมที่ 1 ทำการทดลองเป็นกลุ่มที่นั่งตามที่จัดไว้
4.5 ครูและนักเรียนร่วมกันสรุปความหมายของแรงลัพธ์ว่า เป็นแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปในทิศทางเดียวกับแรงนั้น และสรุปประโยชน์ของแรงลัพธ์ โดยครูเขียนบนกระดานดำให้นักเรียนคัดลอกลงในสมุด
4.6 ให้นักเรียนทำแบบฝึกหัดเรื่องแรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์ ลงในสมุด
4.7 นักเรียนศึกษาใบความรู้ เรื่อง ทิศทางของแรงลัพธ์และเอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์ ร่วมกันอภิปรายและแสดงความคิดเห็น ซักถามข้อสงสัยครูอธิบายเพิ่มเติม แล้วแนะนำให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมตามหนังสือในห้องสมุดและอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับเรื่อง แรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์

5. สื่อ / แหล่งเรียนรู้
5.1 สื่อ
1. ภาพการดึงและการผลักวัตถุ
2. ใบกิจกรรมที่ 1 เรื่อง แรงลัพธ์เนื่องจากแรงสองแรงที่กระทำต่อวัตถุ
- อุปกรณ์การทดลองมีดังนี้
1. เครื่องชั่งสปริง 2 อัน 2. ถุงพลาสติกหูหิ้ว 1 ใบ
3. วัตถุที่นำมาชั่ง เช่น ก้อนหิน หนังสือ กล่องดินสอ
3. แบบฝึกหัดเรื่อง แรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์
4. ใบความรู้ เรื่อง ทิศทางของแรงลัพธ์
5. เอกสารประกอบการเรียนเรื่องแรงลัพธ์และประโยชน์ของแรงลัพธ์
5.2 แหล่งเรียนรู้
1. หนังสือในห้องสมุดและอินเตอร์เน็ต

6. การวัดผลและการประเมินผล
1. วิธีการวัด / สิ่งที่วัด
1.1 การสังเกต
- ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- สังเกตการทำงานเป็นกลุ่ม
- การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
1.2 การตรวจผลงาน
- สมุดบันทึก
- แบบบันทึกผล
- แฟ้มสะสมงาน
- แบบฝึกหัด
1.3 มีจิตวิทยาศาสตร์
- ความอยากรู้อยากเห็น
- ความซื่อสัตย์
- การยอมรับฟังความคิดเห็น
2. เครื่องมือวัด
- แบบประเมินทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
- แบบประเมินการทำงานกลุ่ม
- แบบประเมินการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
- แบบประเมินผลงาน
- แบบวัดมีจิตวิทยาศาสตร์
- ข้อทดสอบก่อนเรียน
3. เกณฑ์การวัด ( ประเมินผลตามสภาพจริง โดยใช้ Rubirc )

บันทึกหลังสอน ……………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………
……………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………